วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จดหมาย ทาสความคิดหรือชีวิตหลุดพ้น

ทาสความคิด หรือชีวิตห​ลุดพ้น จดหมายฉบับ​ที่หนึ่ง
กล่องจดหมายX
สมชาย หรั่งเจริญตัวตนเป็นผลรวมของสิ่งที่เราที่กิน สิ่งที่เราคิดและสิ่งที่เราทำ ท่านผู้รู้ท่าน...
15 ก.พ. (13 วันที่แล้ว)

สมชาย หรั่งเจริญ s.rangcharoen@gmail.com ถึง ฉัน, viyothin, sakda
แสดงรายละเอียด 15 ก.พ. (13 วันที่แล้ว)
ตัวตนเป็นผลรวมของสิ่งที่เราที่กิน สิ่งที่เราคิดและสิ่งที่เราทำ ท่านผู้รู้ท่านกล่าวไว้
-  สิ่งทีเราคิดเป็นต้นตอของทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเรา
 -  จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว หรือความคิดคือนายกายคือบ่าว
-จากความคิดเป็นการกระทำ กระทำบ่อยๆเป็นความเคยชิน ทำด้วยความเคยชินบ่อยๆก็กลายเป็นนิสัย  นิสัยทำบ่อยๆหรือซ้ำๆก็จะกลายเป็นอุปนิสัยหรือที่เรียกว่าสันดาน และกลายเป็นชะตากรรมในที่สุด
 ท่าทีต่อความคิดของคนเรามีอยู่สามอย่างคือ
 1  เข้าไปในความคิดหรือมีวิถีชีวิตที่เป็นไปตามความคิด เช่น รัก โลภ โกรธ หลง เหมือนดูละครแล้วอินน์ กับบทบาทของตัวแสดงซึ่งคนทั่วๆไปเป็นกันอยู่
 2  ห้ามความคิดหรือหลีกหนีความคิด ด้วยการเบี่ยงเบนหรือกดเข่ม เช่นดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือแม้แต่การทำสมาธิ ซึ่งเป็นการฝืนธรรมชาติ เพราะธรรมชาติคนเราต้องคิด เหมือนเครื่องขยายเสียง ถ้าเครื่องปกติ ไมโครโฟนไปรับเสียงอะไรมาก็ต้องขยายไม่วาจะเป็นเสียงหัวเราะ หรือร้องไห้
3 เฝ้าดูความคิด คือไม่ห้ามความคิด ไม่เข้าไปในความคิด แต่เฝ้าดูความคิดแทน การเฝ้าดูความคิดที่เรียกว่า วิปัสสนาเป็นความหมายที่แปลว่าต่างเก่าล่วงภาวะเดิม แต่โยปกติเรามักจะติดคิด คือคิดอะไรก็เป็นไปตามความคิดหรือไม่ก็มักจะหักห้ามความคิดแต่สุดท้ายเราก็ไยแพ้ต่อความคิด เพราะการกดข่มก็ดี การเป็นไปตามความคิดก็ดี ล้วนแล้วแต่สร้างความเสียดทานให้กับชีวิตเรา
การเฝ้าดูความคิดเป็นหนทางออกอีกทางหนึ่งที่เราใช้จัดการกับความคิด โดยเดินตามแนวทางของท่านผู้รู้ทั้งหลาย ที่ได้พยายามทดลองค้นคว้าปฎิบัติ แล้วนำมาบอกเล่าให้คนรุ่นหลังได้เดินตามด้วยหมายใจจะให้พ้นจากความทุกข์
 -ท่านผู้รู้ท่านบอกว่าความทุกข์ เกิดจากความคิดแล้วยึดมั่นถือมั่นที่เรียกว่าตัวกู ของกู ด้วยความหลงผิดไม่เห็นกระแสของความคิดที่แท้จริงซึ่งเกิดดับอยู่ตลอดเวลา โดยหลงเข้าไปในคลองความคิดและตกอยู่ใต้อาณัติของความคิด
 -ท่านผู้รู้ที่เป็นสัพพัญญู อย่างพระพุทธเจ้าท่านศึกษา ทดลองปฎิบัติจนกระทั่งเข้าถึงที่เรียกว่าตรัสรู้  (ตรัส-ดำรัส =-พูด) เป็นการหยั่งรู้
ถ้าเป็นอย่างเราๆก็เรียกว่าเข้าใจ คือมันเข้าไปอยู่ในใจลึกจนกระทั่งสิ้นความสงสัย
   - ตามที่เราเรียนรู้กันมาพระพุทธเจ้าในอดีตก็คือเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งเป็นมนุษย์ผู้หนึ่ง แต่เมื่อท่านไปบำเพ็ญเพียรทางจิตจึงได้เปลี่ยนเป็นพุทธะ ซศึ่งแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    -เมื่อท่านตรัสรู้ท่านอุทานว่า"สัตว์ทั้งหลายแท้จริงคือเราตถาคต ซึ่งหมายความว่ามนุษย์ทุกคนเป็นได้เหมือนพระพุทธเจ้าคือมีพุทธะอยู่ในทุกตัวคน ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ก็ตาม เราจึงไหว้พุทธะ ที่อยู่ในตัวคนกัน ถ้ายังไม่รู้ก็เรียกว่ายังหลับอยู่ แต่เมื่อใดที่รู้แล้วก็จะเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นการยืนยันว่าใจป็นนายกายเป็นบ่าว แต่ต้องฝึกฝึกจิตฝึกใจให้สามารถป็นนายที่ดี นำพากายให้ไปสู่สิ่งที่ดีได้
 ตอบ ตอบทุกคน ส่งต่อ เชิญ สมชาย หรั่งเจริญ เข้าร่วมแชท

 ตอบ |donpo chaiyo.com ถึง wirot
แสดงรายละเอียด 15 ก.พ. (13 วันที่แล้ว)
กล่าวโดยสรุปต่อความคิดของคนเรามีวิธีจัดการได้สามวิธีคือ
-1 ไปกับความคิดคือทำทุกสิ่งทุกอย่างไปตามความคิด
-2 กดข่มความคิดคือห้ามมิให้ความคิดเกิด
- 3 เฝ้าดูความคิดคือปล่อยให้ความคิดเกิดเป็นปกติ แต่สติที่ได้รับการฝึกแล้วว่องไวจนตรวจจับกระแสความคิดได้และรู้เท่าทันในสิ่งที่คิด การยึดมั่นถือมั่นในความคิดซึ่งเป็นกระแสเกิดดับที่เรียกว่าสังขาร(การปรุงแต่ง) ก็จะปล่อยวางจางคลายลง ซึ่งก็คือจุดหมายปลายทางของการศึกษษ ในเรื่องของชีวิต ที่ประกอบไปด้วยจิตกับกาย ที่เป้าหมายสุดท้ายคือความดับเย็นแห่งทุกข์(อุปาทาน)หรือที่เรียกว่าทำพระนิพพานให้แจ้ง

การศึกษามีองค์ประกอบสามประการคือ ปริยัติ(ทฤษฎี) เป็นความรู้ของคนอื่น การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกรู้จำ รู้จัก
องค์ประกอบที่สองเรียกว่าปฏิบัติ คือทดลองทำจนได้ผล เป็นองค์ประกอบที่สามของกระบวนการศึกษาเรียกว่าปฏิเวธคือได้รับผลจากการปฏิบัติ ยกระดับความรู้จากการรู้จำ รู้จัก ขึ้นเป็นรู้แจ้งรู้จริง
 การศึกษาธรรมก็เพื่อการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน การปฎิบัติจึงเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา เราจะไม่ได้อะไรเลยจากการอ่าน หรือฟังวิธีการหุงข้าวจนกว่าเราจะนำความรู้ที่ได้รับมาไปปฏิบัติ  เมื่อนั้นเราจึงจะได้รับผล
 ความรู้ที่แท้จริงเกิดจากการปฏิบัติและยกระดับของการรับรู้
 ในช่วงแรกของการฝึกเร้าความรู้สึกตัว เราจะยังตามความคิดไม่ค่อยทัน เมื่อเราเร้าความรู้สึกตัวบ่อยๆเข้า เมื่อความคิดเกิดขึ้น
เราก็จะเริ่มตามทันความคิดมากขึ้นๆจนเมื่อไรก็ตามที่เกิดความคิดปุ๊ปเรารู้ทันปั๊ป ปัญหาในเรื่องทุกข์อุปาทาน(ตัวกู-ของกู)ก็จะเบาบางลงซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการบำเพ็ญเพียรทางจิต ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้แล้วนำมาสอน ปัญญาอย่างเราๆไม่สามารถที่จะค้นพบเองได้ก็อาศัยปฎิบัติตามที่ท่านสอน เพื่อทีจะได้รู้ ได้เห็น ได้เป็นได้มี อย่างที่ท่านค้นพบ
   การปฎิบัติธรรมก็คือการนำเอาธรรม มาใช้ในชีวิตประจำวัน การไปที่วัดเป็นพียงส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรมเท่านั้น
การทำบุญ ให้ทาน กฐิน ผ้าป่า ท่านบอกว่าเปรียบเสมือนข้าวเปลือก ข้าวปลูกเอาไว้ทำพันธ์ ขยายต่อไปให้คนรุ่นหลัง ดีแต่ยังไม่ตรง ต้องเป็นข้าวสวยจึงจะกินได้ ก็คือการเจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา
 สติเปรียบเหมือนความคมของมีด สมาธิเปรียบเหมือนแรงกดของมีด ถ้ามีดคมคือมีสติมากสมาธิหรือแรงกดก็ไม่จำเป็นต้องเยอะตัดอะไรก็ขาดได้ไม่ยาก ท่านจึงว่าสมาธิพอควรแก่งานแก่การ ถ้ามากไปก็จะไปกดข่มความคิดทำให้ไม่เกิดปัญญา
มีข้อน่าสังเกตุว่าตามพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ ไปเรียนสมาธิกับ อาฬาระดาบส กับอุทกดาบส ทำไมจึงเลิก ข้อสันนิษฐานก็คือเป็นการกดข่มความคิด เป็นทางที่มิใช่ทาง
 แต่จะทำอย่างไรเล่าจึงจะเฝ้าดูความคิดได้โดยไม่เข้าไปในความคิด และไม่ห้ามความคิด
 ท่านผู้รู้ท่านมีอุบาย ด้วยการเร้าความรู้สึกตัวที่เรียกว่าการเจริญสติปัฎฐานสี่
สิ่งเหล่านี้หาอ่นได้จากหนังสือสวดมนต์แปลที่เรียกว่ามหาสติปัฎฐานสูตร
แต่มีอยู่ในหมวดหนึ่งที่เรียกว่าอริยบทบรรพว่าด้วยสติและสัมปชัญญะ ตามความเข้าใจของตัวเองน่าจะเป็นบทที่ลัดสั้นและตรงไม่อ้อมค้อมจนเกิดปรากฎการณ์ทางจิตมากเหมือนวิธีอื่น ในเมื่อเราแน่วแน่ว่า จุดมุ่งหมายในการศึกษษก็เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง(คือเรื่องทุกข์กับดับทุกข์ อุปาทาน) การเจริญสติปัฎฐานสี่ ก็คือหนทางที่จะพาเราไปสู่สิ่งนั้น มีข้อน่าสังเกตุว่า จะใช้วิธีใดก็แล้วแต่ในหทวดกายานุปัสสนาแห่งมหาสติปัฎฐานสูตรการกระทำนั้นต้องตั้งอยู่บนฐานของการเคลื่อนไหว(dynamic) การเร้าความรู้สึกตัว จะกระทำต่อเนื่องกันไปประดุจห่วงโซ่ คือไม่ขาดตอนจนกระทั่งความรู้สึกตัว เต็มขึ้นมาเป็นปัจจุบันขณะ ไม่ว่ายืน เดิน นอน นั่งในทุกอริยาบถรู้สึกตัวตลอด
คนเราเมื่อถูกเสียดทานด้วยทุกข์อุปาทานอยู่ หน้าที่คือต้องทำให้พ้นทุกข์ หรือเข้าใจง่ายๆว่าความทุกข์ เกิดจากความคิดแล้วไปยึดติด หน้าที่สำคัญ ทำอย่างไรจึงจะปล่อยวางความคิด ที่ยึดมั่นถือมั่นได้  ปัญหาเฉพาะหน้าคือต้องทำสิ่งนี้คือสิ่งที่ท่านเน้นย้ำว่าสิ่งที่ท่านรู้เหมือนใบไม้ทั้งป่า แต่สิ่งที่ท่านนำมาสอนเป็นแค่ใบไม้กำมือเดียว คือเรื่องทุกข์กับดับทุกข์ แต่คนเรามักจะไปสนใจ เรื่องตายแล้วเกิด ตายแล้วสูญ ชาตินี้ ชาติหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่รองลงไปจากความทุกข์ที่เป็นอยู่ในปัจุบัน ท่านกล่าวไว้ว่าเหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศร ปัญหาเฉาะหน้าคือต้องเอาลูกศรออกจากร่างกายก่อนที่จะไปค้นหาความจริงว่าใครยิง ยิงทำไม ลูกศรทำด้วยอะไร  เมื่อเราจับหลักการได้ว่า เราศึกษาชีวิตก็เพื่อการดับทุกข์ ที่เรียกว่าทุกข์อุปาทาน เพื่อบรรลุสภาวะที่เรียกว่านิพพาน คือความดับเย็นแห่งจิตใจ ไม่ปรุงแต่งจนเกิดความยึดมั่นถือมั่น ที่ท่านเรียกว่าทำพระนิพพานให้แจ้ง การรู้แจ้งหรือการหยั่งรู้ที่เรียกว่าการรู้ หรือผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อวัดของคนโบราณ ไม่ว่าจะเป็นวัดโพธิ์ วัดแจ้ง วัดอรุณ ก็น่าจะมาจากความหมายเดียวกัน
      ความทุกข์อุปาทานคือการยึดมั่นถือมั่นในความคิดเป็นเพราะเรารู้ไม่เท่าทันความคิด ถ้าไม่ห้ามความคิดโดยการไปนั่งสมาธิเพื่อกดข่ม ก็ไปดูหนังฟังเพลง อ่านนิยาย  เราก็มักจะเข้าไปในความคิดหรือทำไปตามความคิดคือคิดอะไรขึ้นมาก็ทำไปตามความคิด ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ให้โทษภัยกับตัวเองบ้าง คนอื่นบ้าง สังคมบ้าง บางทีก็เป็นประโยชน์ บางทีก็เป็นโทษ แต่ส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดความทุกข์กับตนเอง เพราะไม่สามารถละได้ แม้สิ่งทีดีถ้าเรายึดมั่นถือมั่นก็ยังเป็นทุกข์อยู่ วิธีที่จะพ้นจากความทุกข์อุปาทานก็คือการเฝ้าดูความคิด รู้ เห็น แต่ไม่เป็นไปกับความคิด เป็นเพียงผู้ดูมิได้เป็นผู้แสดง

 ตอบ ตอบทุกคน ส่งต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

 -สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มีมากมายเหมือนใบไม้ทั้งป่าแต่สิ่งที่ท่านนำมาสอนเท่ากับใบไม้กำมือเดียว ท่านสอนเฉพาะทุกข์กับการดับทุกข์เป็นเรื่องใหญ่
-ทุกข์มีสองอย่างคือทุกข์ทางกาย กับทุกข์ทางใจ
- ทุกข์ทางกายก็ต้องแก้ด้วยการไปหาหมอรักษาหรือปฎิบัติตัวให้สอดคล้องกับการอยู่รอดของร่างกาย
ทุกข์ทางใจที่เรียกว่าอุปาทาน (ตัวกู-ของกู) เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนและเน้นย้ำเป็นหัวข้อต้นในอริยสัจจ์สี่ ซึ่งประกอบไปด้วยทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค
ท่านสอนว่า
 - ทุกข์     ต้องกำหนดรู้
-สมุห์ทัย      เหตุแห่งทุกข์ต้องละ
 นิโรธ      การดับทุกข์ ต้องทำให้พ้น
 - มรรคหนทางแห่งการดับทุกข์ ต้องทำให้เจริญ  

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ.ปยุตโต)

หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
 หนังสือพุทธธรรมนี้ ปัจจุบันแบ่งได้เป็นสามฉบับ คือ พุทธธรรมฉบับเดิม พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ(พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต) และล่าสุดคือ พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตโต) แรกเริ่มเดิมทีพุทธธรรม ฉบับเดิมเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นตามคำอาราธนาของโครงการตำรา สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
พุทธธรรม หรือกฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต หนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยความนำท่านบอกถึงสิ่งที่ควรเข้าใจก่อน ท่านเขียนว่า"มุ่งแสดงแต่ในขอบเขตว่า พุทธธรรมสอนว่าอย่างไร มีเนื้อหาว่าอย่างไร ส่วนที่ว่าพุทธธรรมจะเป็นปรัชญาหรือไม่ท่านไม่ได้มุ่งไปทางนั้น
หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วย ภาคหนึ่ง มัชเฌนธรรมเทศนา (หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ หรือธรรมที่เป็นกลาง)
  ชีวิตคืออะไร  เริ่มตั้งแต่ขันธ์ห้า ส่วนประกอบห้าอย่างของชีวิต ตัวสภาวะ ขันธ์ห้ากับอุปาทานขันธ์ห้า หรือชีวิตกับชีวิตที่เป็นปัญหา คุณค่าทางจริยธรรม  อายตนะหก แดนรับรู้และเสวยโลก ช่องทางที่ชีวิตติดต่อกับโลก ตัวสภาวะ ความถูกต้องและความผิดพลาดของความรู้
สัจจะสองระดับ  พูดถึงสมมุติ สัจจะ กับปรมัตถสัจจะ วิปลาสหรือวิปัลลาสสามคือความรู้ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงสามอย่างคือ 1สัญญาวิปลาส สัญญาคลาดเคลื่อน หมายรู้ผิดพลาดจากความจริง
2จิตวิปลาส จิตคลาดเคลื่อนความคิดผิดพลาfจากความจริง 3 ทิฎฐิวิปลาส ทิฎฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดจากความเป็นจริง
พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ สรรพสิ่งโลกและบัญญัติต่างๆ ความจริงเดียวกันทั้งแก่ผู้หลงและผู้รู้เท่าทัน
จิตใจใหญ่กว้าง มีปัญญานำทาง อยู่อย่างมีสติก้าวไปในมรรคาแห่งอิสระภาพและความสุข คุณค่าทางจริยธรรม
  ชีวิตเป็นอย่างไร ประกอบด้วยเรื่อง ไตรลักษณ์ ลักษณะโดยธรรมชาติสามอย่างของสิ่งทั้งปวง
ตัวกฎหรือตัวสภาวะ คุณค่าทางจริยธรรม 1 หลักอนิจจตา มีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาที่ด้านนอกไม่ประมาท เร่งขวนขวายทำการปรับปรุงแก้ไขด้วยความรู้ที่ตรงต่อเหตุปัจจัย มีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา ที่ด้านในจิตใจอิสระเป็นสุขผ่องใสปล่อยวางได้ด้วยความรู้เท่าทันเหตุปัจจัย
2หลักทุกขตา ทุกข์ที่เป็นธรรมดาของสังขาร ต้องรู้ทันไม่ยึดฉวยเอามาใส่ตัวให้เป็นความทุกข์ของเรา แต่เป็นภาระที่ต้องจัดการด้วยปัญญาที่รู้เหตุปัจจัย หลักอริยสัจ บอกหน้าที่กำกับไว้ว่า ทุกข์สำหรับปัญญารู้ทันและทำให้ไม่เกิดไม่มีแต่สุขที่คนมุ่งหมายต้องทำให้กลายเป็นชีวิตของเรา
3 หลักอนัตตา  ปฎิจจสมุปบาท การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีตัวกฎหรือตัวสภาวะ ธรรมที่สืบเนื่อง เรื่องกรรม เรื่องอริยสัจ                                                                                                                                                                 ภาคที่สอง มัชฌิมาปฎิปทา ข้อปฎิบัติที่เป็นกลางตามกฎธรรมชาติหรือทางสายกลาง ชีวิตควรเป็นอย่างไร ความหมายขององค์ประกอบแห่งมัชฌิมาปฎิปทาแต่ละข้อเริ่มตั้งแต่สัมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมาวาจา สัมมากัมมันคะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ และมีรายละเอียดลึกลงไปแต่ละหัวข้อ และมีบทเพิ่มเติม ชีวิตที่เป็นอยู่ดีด้วยมีการศึกษาทั้งสามที่ทำให้พัฒนาครบสี่ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นหาอ่านเอาจากหนังสือพุทธะรรมฉบับเดิม ฉบับปรับปรุงขยายความสมัยเป็นพระธรรมปิฎก หรือฉบับปรับปรุงและขยายความสมัยเป็นพระพรหมคุณาภรณ์ หลักการจะเป็นอันเดียวกันเพียงแต่ลงรายละเอียดมากกว่า ควรที่สาธุชน และผู้ใฝ่รู้ในหลักพุทธธรรม และไม่อยากพลัดหลงจากหลักการ ควรหามาอ่านเพื่อเป็นเข็มทิศบอกทางชีวิต แล