วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

สิทธารถะ (siddhartha) แฮร์มัน เฮสเส

สิทธารถะเป็นวรรณกรรม ซึ่งเป็นผลงานของนักเขียน รางวัลโนเบลชาวเยอรมัน แฮร์มัน เฮสเส
สิทธารถะเป็นเรื่องราวของมานพหนุ่มในตระกูลพราหมณ์ ชื่อสิทธารถะ ที่แสวงหาสัจจธรรมด้วยตนเองหลังจากที่ออกบวชพร้อมกับสหายซึ่งเป็นพราหมณ์ด้วยกันชื่อโควินทะ ทั้งสองสหายหลังจากออกบวชแล้วก็ได้ปฎิบัติภาวนาหาทางหลุดพ้น สิทธารถะ เมื่อสองสหายพบสมณะโคดม โควินทะได้ตัดสินใจบวชเข้าในหมู่สมณะ เป็นภิกษุในพุทธศาสนา แต่สิทธารถะทูลลาพระพุทธองค์ออกจาริกแสวงหาสัจจธรรมต่อไป จนในที่สุดหวนคืนสู่เพศฆราวาส โดยข้ามแม่น้ำและสนทนากับชายแจวเรือชื่อวาสุเทพ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่กับสายน้ำแบบเรียบง่าย มีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ  เมื่อสิทธารถะ ข้ามฟากไปแล้วก็หวนคืนสู่เพศฆราวาส ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับนางงามเมืองชื่อกมลาและสุดท้ายก็ได้ไปร่วมหุ้นทำมาค้าขายกับพ่อค้าใหญ่ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง สุดท้ายก็หวนกลับคืนสู่การค้นหาสัจจธรรม โดยไปอยู่ร่วมกับวาสุเทพและทิ้งความมั่งมีไว้เบื้องหลัง วรรณกรรมเรื่องนี้ ชี้ให้เห็นถึงวิถีทางที่แตกต่างของ สองสหาย โควินทะบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศานาแสวงหาความหลุดพ้นแต่ยังไม่พัฒนาก้าวหน้าไปสู่ความหลุดพ้น ขณะที่สิทธารถะ หวนกลับไปสู่ชีวิตฆราวาสใช้ชีวิตเต็มเหนี่ยวในโลกียสุข แล้วตีกลับมาค้นหาสัจจธรรมโดยเรียนรู้จากวาสุเทพ ชายแจวเรือที่มีชีวิตเรียบง่ายสอดคล้องกับธรรมชาติ นิ่ง สงบ นี่กระมังที่เรียกว่าธรรมมะคือหน้าที่ การหยั่งรู้สัจจธรรมมิจำเป็นที่จะต้องหยั่งรู้โดยผ่านรูปแบบและวิธีการ อาจหยั่งรู้โดยการภาวนาผ่านชีวิตที่เรียบง่าย โควินทะผู้อุทิศยอมตนหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกับรูปแบบยังมิอาจพัฒนาไปถึงจุดแห่งการหยั่งรู้ สิทธารธะ เป็นวรรณกรรมที่มีอิทธิพลต่อ
ผู้ใส่ใจในสัจธรรม เป็นรูปแบบแห่งความหลุดพ้นรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่อิงกับรูปแบบแต่ใส่ใจในเนื้อหา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น