วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ.ปยุตโต)

หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
 หนังสือพุทธธรรมนี้ ปัจจุบันแบ่งได้เป็นสามฉบับ คือ พุทธธรรมฉบับเดิม พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ(พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต) และล่าสุดคือ พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตโต) แรกเริ่มเดิมทีพุทธธรรม ฉบับเดิมเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นตามคำอาราธนาของโครงการตำรา สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
พุทธธรรม หรือกฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต หนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยความนำท่านบอกถึงสิ่งที่ควรเข้าใจก่อน ท่านเขียนว่า"มุ่งแสดงแต่ในขอบเขตว่า พุทธธรรมสอนว่าอย่างไร มีเนื้อหาว่าอย่างไร ส่วนที่ว่าพุทธธรรมจะเป็นปรัชญาหรือไม่ท่านไม่ได้มุ่งไปทางนั้น
หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วย ภาคหนึ่ง มัชเฌนธรรมเทศนา (หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ หรือธรรมที่เป็นกลาง)
  ชีวิตคืออะไร  เริ่มตั้งแต่ขันธ์ห้า ส่วนประกอบห้าอย่างของชีวิต ตัวสภาวะ ขันธ์ห้ากับอุปาทานขันธ์ห้า หรือชีวิตกับชีวิตที่เป็นปัญหา คุณค่าทางจริยธรรม  อายตนะหก แดนรับรู้และเสวยโลก ช่องทางที่ชีวิตติดต่อกับโลก ตัวสภาวะ ความถูกต้องและความผิดพลาดของความรู้
สัจจะสองระดับ  พูดถึงสมมุติ สัจจะ กับปรมัตถสัจจะ วิปลาสหรือวิปัลลาสสามคือความรู้ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงสามอย่างคือ 1สัญญาวิปลาส สัญญาคลาดเคลื่อน หมายรู้ผิดพลาดจากความจริง
2จิตวิปลาส จิตคลาดเคลื่อนความคิดผิดพลาfจากความจริง 3 ทิฎฐิวิปลาส ทิฎฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดจากความเป็นจริง
พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ สรรพสิ่งโลกและบัญญัติต่างๆ ความจริงเดียวกันทั้งแก่ผู้หลงและผู้รู้เท่าทัน
จิตใจใหญ่กว้าง มีปัญญานำทาง อยู่อย่างมีสติก้าวไปในมรรคาแห่งอิสระภาพและความสุข คุณค่าทางจริยธรรม
  ชีวิตเป็นอย่างไร ประกอบด้วยเรื่อง ไตรลักษณ์ ลักษณะโดยธรรมชาติสามอย่างของสิ่งทั้งปวง
ตัวกฎหรือตัวสภาวะ คุณค่าทางจริยธรรม 1 หลักอนิจจตา มีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาที่ด้านนอกไม่ประมาท เร่งขวนขวายทำการปรับปรุงแก้ไขด้วยความรู้ที่ตรงต่อเหตุปัจจัย มีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา ที่ด้านในจิตใจอิสระเป็นสุขผ่องใสปล่อยวางได้ด้วยความรู้เท่าทันเหตุปัจจัย
2หลักทุกขตา ทุกข์ที่เป็นธรรมดาของสังขาร ต้องรู้ทันไม่ยึดฉวยเอามาใส่ตัวให้เป็นความทุกข์ของเรา แต่เป็นภาระที่ต้องจัดการด้วยปัญญาที่รู้เหตุปัจจัย หลักอริยสัจ บอกหน้าที่กำกับไว้ว่า ทุกข์สำหรับปัญญารู้ทันและทำให้ไม่เกิดไม่มีแต่สุขที่คนมุ่งหมายต้องทำให้กลายเป็นชีวิตของเรา
3 หลักอนัตตา  ปฎิจจสมุปบาท การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีตัวกฎหรือตัวสภาวะ ธรรมที่สืบเนื่อง เรื่องกรรม เรื่องอริยสัจ                                                                                                                                                                 ภาคที่สอง มัชฌิมาปฎิปทา ข้อปฎิบัติที่เป็นกลางตามกฎธรรมชาติหรือทางสายกลาง ชีวิตควรเป็นอย่างไร ความหมายขององค์ประกอบแห่งมัชฌิมาปฎิปทาแต่ละข้อเริ่มตั้งแต่สัมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมาวาจา สัมมากัมมันคะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ และมีรายละเอียดลึกลงไปแต่ละหัวข้อ และมีบทเพิ่มเติม ชีวิตที่เป็นอยู่ดีด้วยมีการศึกษาทั้งสามที่ทำให้พัฒนาครบสี่ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นหาอ่านเอาจากหนังสือพุทธะรรมฉบับเดิม ฉบับปรับปรุงขยายความสมัยเป็นพระธรรมปิฎก หรือฉบับปรับปรุงและขยายความสมัยเป็นพระพรหมคุณาภรณ์ หลักการจะเป็นอันเดียวกันเพียงแต่ลงรายละเอียดมากกว่า ควรที่สาธุชน และผู้ใฝ่รู้ในหลักพุทธธรรม และไม่อยากพลัดหลงจากหลักการ ควรหามาอ่านเพื่อเป็นเข็มทิศบอกทางชีวิต แล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น