วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

 ในช่วงแรกของการฝึกเร้าความรู้สึกตัว เราจะยังตามความคิดไม่ค่อยทัน เมื่อเราเร้าความรู้สึกตัวบ่อยๆเข้า เมื่อความคิดเกิดขึ้น
เราก็จะเริ่มตามทันความคิดมากขึ้นๆจนเมื่อไรก็ตามที่เกิดความคิดปุ๊ปเรารู้ทันปั๊ป ปัญหาในเรื่องทุกข์อุปาทาน(ตัวกู-ของกู)ก็จะเบาบางลงซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการบำเพ็ญเพียรทางจิต ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้แล้วนำมาสอน ปัญญาอย่างเราๆไม่สามารถที่จะค้นพบเองได้ก็อาศัยปฎิบัติตามที่ท่านสอน เพื่อทีจะได้รู้ ได้เห็น ได้เป็นได้มี อย่างที่ท่านค้นพบ
   การปฎิบัติธรรมก็คือการนำเอาธรรม มาใช้ในชีวิตประจำวัน การไปที่วัดเป็นพียงส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรมเท่านั้น
การทำบุญ ให้ทาน กฐิน ผ้าป่า ท่านบอกว่าเปรียบเสมือนข้าวเปลือก ข้าวปลูกเอาไว้ทำพันธ์ ขยายต่อไปให้คนรุ่นหลัง ดีแต่ยังไม่ตรง ต้องเป็นข้าวสวยจึงจะกินได้ ก็คือการเจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา
 สติเปรียบเหมือนความคมของมีด สมาธิเปรียบเหมือนแรงกดของมีด ถ้ามีดคมคือมีสติมากสมาธิหรือแรงกดก็ไม่จำเป็นต้องเยอะตัดอะไรก็ขาดได้ไม่ยาก ท่านจึงว่าสมาธิพอควรแก่งานแก่การ ถ้ามากไปก็จะไปกดข่มความคิดทำให้ไม่เกิดปัญญา
มีข้อน่าสังเกตุว่าตามพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ ไปเรียนสมาธิกับ อาฬาระดาบส กับอุทกดาบส ทำไมจึงเลิก ข้อสันนิษฐานก็คือเป็นการกดข่มความคิด เป็นทางที่มิใช่ทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น