วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผลพวงแห่งความคับแค้น(THE GRAPES OF WRATH )

ผลพวงแห่งความคับแค้น( THE GRAPESOF WRATH )  โดย จอห์น สไตน์เบค

ผลพวงแห่งความคับแค้นเป็นนวนิยายประท้วงสังคม รางวัลโนเบล   "มนุษย์มิได้เกิดมาเพื่อที่จะพ่ายแพ้การทำลายมนุษย์ย่อมทำลายกันได้ แต่จะทำให้มนุษย์พ่ายแพ้นั้นทำไม่ได้ "

 นวนิยายเรื่องนี้ เดินเรื่องให้ชายหนุ่มคนหนึ่ง กลับไปบ้านหลังจากไปติดคุกอยู่นาน เมื่อกลับไปบ้านพบว่าอะไรๆเปลี่ยนไปมากผู้คนอพยพ หนีภัยแล้งปลูกฝ้ายไม่ได้ผลมาหลายปี เหลือเพียงครอบครัวเขาซึ่งเป็นอยู่ด้วยความลำบาก แม้อยากจะยืนหยัดอยู่ ลำพังภัยแล้งก็หนักหนาสาหัส พออยู่แล้วแถมยังมีปัญหาหนี้สินที่ไปกู้ยืมมาจากธนาคาร เพิ่มเติมเข้าไปด้วย  แค่จะกินอยู่ เลี้ยงปากเลี้ยงท้องให้อิ่มก็แสนยาก หนี้สินไม่ต้องพูดถึงละ  วันหนึ่งมีแทรคเตอร์ ขับเข้ามาในไร่เพื่อปรับที่ดินและไถ บ้านเพื่อรื้อไล่ คนในครอบครัวโกรธแค้น จะเอาปืนมายิงคนขับรถแทรคเตอร์ ซึ่งเป็นคนที่ลำบากยากเข็ญ เช่นกันจนต้องไปรับจ้างขับรถ เพื่อทำมาหาเลี้ยงครอบครัว คนขับแทรคเตอร์ ถูกต่อว่าว่าเป็นพวกเดียวกันทำไมถึงต้องทำอย่างนี้  แล้วขู่ว่าจะยิงให้ตายถ้ามารื้อบ้าน คนขับแทรคเตอร์บอกว่า เขาเดือดร้อนต้องทำมาหากินเหมือนกัน ถ้ายิงเขาตาย ธนาคารก็ต้องจ้างคนขับคนใหม่มาอยู่ดี สุดท้ายก็เลยไล่หาตัวการว่าใครเป็นคนสั่งให้มารื้อบ้านและที่ทำกิน ผู้จัดการเรอะ ก็แค่ลูกน้อง ไล่เลียงไปถึงประธาน  กรรมการ จนกระทั่งผู้ถือหุ้น ก็หาจำเลยไม่ได้ ไม่รู้ว่าใครคือเจ้าของตัวจริงกันแน่ สุดท้ายเลยเลิกล้มความตั้งใจที่จะอยู่ต่อ
เก็บข้าวของที่จำเป็นและมีประโยชน์ ประเภทผ้าใบ เพื่อทำกระโจมสำหรับพักอาศัยระหว่างทาง และเครื่องครัวสำหรับปรุงอาหาร นำขึ้นรถกระบะเก่าๆเอาผ้าใบทำหลังคากันแดดกันฝนแล้วออกเดินทางหมายไปหางานทำทางใต้ ตามที่ได้รับใบปลิวชี้ชวนทำงานว่าค่าแรงดีและรับคนงานไม่อั้น รถกระบะบรรทุกครอบครัวซึ่งมีทั้งปู่ย่า พ่อแม่ลูกหลานก็อพยพ ไปตามความฝันระหว่างทางเจอขบวนผู้คนที่อพยพแบบพวกตนเต็มไปหมด บ้างก็เดินทางกลับก็มี พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวว่าไม่เป็นความจริงหรอกที่มีงานการให้ทำ แต่ครอบครัวนี้มาไกลเกินกว่าจะถอยกลับจึงมุ่งหน้าต่อไป ทั้งๆที่หวั่นใจ ระหว่างการเดินทางก็ประสบปัญหาสารพัน และนิยายเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่ามีแต่คนจนด้วยกันเท่านั้นที่เห็นใจกันเอง
ปลอบประโลมให้กำลังใจ แบ่งปันแม้ในสิ่งทีตัวเองก็มีน้อยและขาดแคลน คนในครอบครัวระหว่างอพยพก็ค่อยๆล้มหายตายจากไปทีละคนๆ จนเหลือคนที่แข็งแรงเท่านั้น ระหว่างทางเจอการต่อต้านดูถูกเหยียดหยามจากเจ้าหน้าที่รัฐ และคนท้องถิ่นที่กลัวว่าพวกอพยพจะมาแย่งการทำมาหากิน สมญาทีพวกอพยพได้รับ คือ" อูก้า "ซึ่งเป็นคำเหยียดหยามหมิ่นแคลนพวกสิ้นไร้ไม้ตอก ครอบครัวอพยพต่อไปผจญเหตุการณ์ต่างๆเป็นระยะๆ สุดท้ายจนถึงไร่ส้มที่ต้องการแรงงาน ระหว่างที่จะเข้าไปทำงานมีขบวนประท้วง
ค่าแรงอยู่ตรงทางเข้าไร่ สุดท้ายเรื่องราวปะติดปะต่อกันได้ความว่าเนื่องจากแรงงานล้นเหลือด้วยมีผู้อพยพจำนวนมากนายทุนก็พยายามกดค่าแรงลงเหลือครึ่งหนึ่งจนคนงานไม่พอยังชีพจึงเกิดการประท้วงขึ้น นายทุนก็หาแรงงานชุดใหม่มาแทนโดยครั้งแรกให้ค่าแรงเท่ากับพวกที่ประท้วงแล้วค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆจนอยู่ไม่ได้ ประท้วง แล้วก็รับใหม่ไปเรื่อยๆ สุดท้ายครอบครัวแรงงานนี้ก็อยู่ไม่ได้ต้องหาที่อยู่ใหม่เพราะทำไปก็ไม่พอกิน การเดินทางก็จะเป็นลักลษณะของพวกเก่ไปพวกใหม่มาขณะที่พวกมาใหม่เต็มไปด้วยความหวังแต่คนเก่าเต็มไปด้วยความหดหู่และสิ้นหวัง นิยายดำเนินเรื่องไปจนถึงตอนจบในความหดหู่สิ้นหวังและความยากไร้ก็ยังมีมนุษยธรรมซึ่ง จอห์น สไตน์เบคทิ้งทวนแบบมือชั้นครู เป็นการจบแบบติดตราตรึงใจ ใน"ผลพวงแห่งความคับแค้น" สมควรที่ผู้สนใจในวรรณกรรมจะได้อ่าน

1 ความคิดเห็น:

  1. หนังสือเรื่องนี้น่าอ่านดีนะ เล่าเรื่องได้สนุกชวนติดตามไม่น่าเบื่อ มีคนเขียนรีวิวเกี่ยวกับหนังสือเล่นนี้ไว้ด้วย ลองอ่านได้ที่ http://goo.gl/agKV7Z

    ตอบลบ