วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

คนขี่เสือ (HE WHO RIDES A TIGER)

คนขี่เสือ โดย ภวานี ภัฏฏาจารย์(นักเขียนชาวอินเดีย)

คนขี่เสือ เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนถึงเรื่องราวการกดขี่ในระบบวรรณะ ของอินเดียตัวเอกของเรื่องเป็นคนววรรณะศูทร ซึ่งจัดเป็นวรรณะต่ำ ชื่อกาโล เป็นช่างตีเหล็ก อยู่ในเมืองเล็กๆเมืองหนึ่ง ต่อมาเมียท้อง
ฝันถึงวันที่ลูกจะเกิดมา พราหมณ์ คนหนึ่งมาจ้างให้ปะหม้อ แล้วตั้งชื่อลูกในท้องให้ โดยบอกว่าถ้าเป็นชายให้ชื่อโอภิชิต ถ้าเป็นหญิงให้ชื่อจันทรเลขา  กาโลซึ่งปรกติมีนิสัยไม่ยอมเสียเปรียบคน ถึงกับยอมเปลี่ยนค่าแรงกับชื่อที่พราหมณ์ ตั้งให้ ต่อมาเมียคลอดลูกออกมาเป็นเด็กผู้หญิง ให้ชื่อจันทรเลขา ส่วนเมียก็ถึงแก่ความตาย กาโลรักลูกสาวคนนี้มากเป็นชีวิตจิตใจ เพราะเท่ากับทดแทนความรักที่มีต่อเมีย
กาโลขยันทำมาหากินเก็บหอมรอมริบ ส่วนจันทรเลขาก็ขยันเรียนจนสอบได้ทีหนึ่งและได้รางวัลเป็นเหรียญเงิน ซึ่งกาโลภูมิอกภูมิใจมาก ถึงขนาดฝันว่าจะให้ลูกสาวเรียนสูงๆ แต่ต่อมาเมืองที่กาโลอยู่ เกิดฝนแล้งข้าวยากหมากแพง หากินไม่ค่อยได้เหมือนก่อนผู้คนอพยพเข้าเมืองหลวง กาโลตัดสินใจเข้าไปดูลาดเลาในเมืองหลวงเพื่อหาช่องทางทำมาหากินโดยให้ลูกสาวอยู่กับน้า เขาฝันว่าจะเป็นเจ้าของโรงตีเหล็กในเมืองหลวงสักแห่งพร้อมกับมีที่เรียนให้ลูกสาว เพื่ออนาคตที่ดีกว่า เขาเตรียมข้าวตาก เป็นเสบียงไปกินระหว่างทาง ร่ำลากับลูกสาวด้วยความอาลัยอาวรณ์ แล้วเดินทางไปขึ้นรถไฟ เข้าเมืองหลวง แต่ผู้คนอพยพมากมายไม่มีตั๋วพอ บ้างก็ไม่มีเงินค่าโดยสาร อาศัยห้อยโหนตามราวบันไดบ้าง หลังคาบ้าง แต่ก็ถูกตำรวจ ตีด้วยกระบอง ฉุดกระชากลากลงมาจากรถไฟ กาโลก็ไม่ต่างจากคนอื่น ถูกกระทำจนถุงข้าวตากหล่นกระจาย   คนโซทั้งหลายก็กรูกันเข้ามาเก็บกินจนหมดสิ้น   กาโลต้องเดินไปสถานีหน้าไปเรื่อยจนสุดท้ายได้ขึ้นรถไฟ แต่ความหิวทำให้ขโมยกล้วย สามลูก ของผู้โดยสารในรถไฟทั้งๆที่ปกติไม่ชอบกล้วยสุดท้ายถูกจับ ถูกนำตัวไปขึ้นศาล ถูกสั่งจำคุก ไม่สามารถติดต่อทางบ้านได้เนื่องจากละอายหากลูกรู้ความจริงว่าตนติดคุกเพราะเป็นขโมย  ส่วนลูกสาวทางบ้านขาดการติดต่อจากพ่อก็อยู่ด้วยความอดอยากสุดท้ายต้องขายแม้กระทั่งเรียนเงินรางวัลจากการแข่งขัน กาโลติดคุกได้รู้จักกับนักโทษคนหนึ่งซึ่งเป็นคนกบฎจากวรรณะพราหมณ์ เนื่องจากน้องสาวต้องตายเพราะถูกบังคับให้แต่งงานกับคนในวรรณะเดียวกันทั้งที่มีคนรักอยู่แล้วแต่เป็นคนละวรรณะ นักโทษคนนี้มีชื่อในคุกว่า บ10
ส่วนกาโลได้ชื่อป14 บ10ถูกจับเพราะไปร่วมขบวนคนยากคนจนเรียกร้องให้พ้นจากแอกของอังกฤษเพื่อชีวิตที่ดีกว่า  บ10 ได้บอกกาโลถึงวิธีทำมาหากินในเมืองหลวง ตั้งแต่หากินกับซ่อง ไปจนถึงการเลื่อนสถานะเป็นพราหมณ์เพื่อตีโต้ตอบการกดขี่ของวรรณะพราหมณ์ สุดท้ายกาโล ได้รับการปลดปล่อยเข้าไปหากินในเมืองหลวง โดยการเป็นลูกมือขนศพคนโซที่อดตายอยู่ทุกวี่ทุกวัน ต่อมาถูกกดค่าแรงเพราะมีคนอื่นทำแทนในราคาที่ถูกกว่าสุดท้ายก็ต้องไปเป็นคนเชียร์แขกในซ่องทั้งๆที่ฝืนต่อมโนธรรม กาโลส่งเงินไปให้ลูกสาว แต่ไม่บอกความจริงที่ตนติดคุกเพราะขโมยกล้วยสามลูก  ลูกสาวได้รับจดหมายจากพ่อก็ดีใจ เนื่องจากจันทรเลขาหน้าตาดี แม่เล้าก็เลยสร้างกลอุบายบอกว่าพ่อถูกรถชนนอนอยู่โรงพยาบาลคร่ำครวญถึงแต่ลูก จึงมารับเพื่อไปพบกับพ่อ สุดท้ายถูกหลอกเข้าซ่องถุฏเฆี่ยนบังคับให้รับแขกเศรษฐี
แต่จันทรเลขา ร้องไห้จนอาเจียนกลิ่นเหม็นคละคลุ้ง แขก หมดอารมณ์ แม่เล้าไม่พอใจ เฆี่ยนตี พอดีกาโลสงสัยและสังหรณ์ใจ จึงได้เข้าไปช่วยทันเวลา พาลูกสาวหนีออกจากซ่องได้ ตกงานไม่รู้จะทำอะไร
นึกถึงเรื่องที่ บ10 บอกถึงการตีโต้การกดขี่ด้วยการทำตัวเป็นพราหมณ์ พร้อมทั้งใช้กลอุบาย ขุดหลุมเอาเมล็ดถั่วฝังดินเอากระป๋องวางบนถั่วแล้วเอาเทวรูปเล็กๆวางบนกระป๋องอีกทีหนึ่งกลบดินหลวมๆเอาน้ำรดเพื่อให้ถั่วงอกขึ้นมาดันกระปํองทำให้เทวรูปผุดขึ้นมาเหนือดินเป็นที่อัศจรรย์ของผู้คนให้เลื่อมใสศรัทธา บริจาคเงิน สิ่งของ สร้างความร่ำรวย แต่ก่อนจะดำเนินกรรมวิธีก็เแต่งตัวเป็นพราหมณ์แล้วเล่าความฝันถึงการผุดขึ้นของเทวรูปให้ผู้คนได้รับรู้ สุดท้ายตรงที่เทวรูปผุดขึ้นกลายเป็นเทวาลัย สวยงามใหญ่โตโดยฝีมือเศรษฐี ทีหวังเอาความศรัทธามาฟอกบาป สร้างภาพตัวเองให้คนอื่ีนชื่นชม หัวเรี่ยวหัวแรงชื่อโมติจันทร์ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาบริหารวิหาร จ้างพราหมณ์ผู้ชำนาญมาทำพิธีกรรม ส่วนกาโลก็เปลี่ยนชื่อเป็น มงคล อธิการี เป็นอธิการในฐานะที่เป็นต้นเรื่องที่เทพเจ้ามาเข้าฝัน กาโล กลายเป็นพราหมณ์มีพิธีกรรม ผูกตนติดกับเทวาลัยเหมือนขึ้นขี่เสือ ไม่สามารถเป็นกาโลช่างตีเหล็กที่ตนภูมิใจในฝีมือได้ ต้องปืดบังหลบๆซ่อนๆตัวตนที่แท้จริงไว้แล้วสวมบทบาทลีลาของนักแสดงแทน บางหนแอบไปตีเหล็กจนควันขโมงบนชั้นบนของเทวาลัย ตามหัวใจเรียกร้อง จนเกือบความลับแตกจนต้องเลิกไปในที่สุด
กาโลรับคนสวนซึ่งเป็นคนชนชั้นเดียวกับตน มีสำนึกทางชนชั้นที่ตนสังกัดอยู่ เห็นใจคนยากคนจน
เอานมที่ทำพิธีสรงเทวรูปซึ่งตามปกติต้องนำไปเทลงแม่น้ำคงคาตามความเชื่อว่าจะได้บุญสูง น้ำนมนี้มาจากการบริจาค เมื่อผู้บริจาครู้ความจริงก็ไม่พอใจ รวมทั้งหนก่อนๆก็ไม่พอใจเรื่องเอาของถวายไปแจกคนยากคนจน แต่กาโลก็หลุดรอดมาด้วยการแก้ต่างของโมติจันทร์ซึ่งหวังจะได้จันทรเลขาเป็นเมียอีกคนหลังจากที่มีมาแล้วหลายคนแล้วสร้างเหตุผลที่จะมีเมียใหม่ ครั้งสุดท้ายถึงขนาดยอมเสียเงินร้อยรูปีจ้างโยคีมาสร้างเรื่องจนเมียคนสุดท้ายอ้อนวอนให้หาเมียใหม่ แน่ะ เรื่องราวดำเนินเรื่อยมาจน บี10ออกจากคุก กาโลก็ไปรับรื้อฟื้นความหลังเล่าความเป็นมาเป็นไป บี10 สนิทกับจันทรเลขา จนกาโลคิดจะให้แต่งงานกับลูกสาว แต่มีข้อแม้ว่าต้องยกระดับเป็นพราหมณ์(ที่จริง บี10 เป็นวรรณะพราหมณ์ แต่บอกกับกาโลทุกครั้งที่ถูกถามถึงวรรณะ ว่าเป็น วรรณะคนขี้คุก)กาโลเตือนลูกสาวไม่ให้สนิทสนมกับบี10
เพราะเป็นคนละวรรณะ (เรื่องมันเสียดเย้ย ถึงความลวงแห่งสถานะเพราะมันกลับหัวกลับหางกัน)แต่จันทรเลขาไม่เชื่อเนื่องจากศรัทธาในบี10 จนกระทั่งเข้าไปดูขบวนการต่อสู้ของประชาชนที่มักเรียกร้อง อาหาร และเอกราช อยู่เนืองๆ  วันหนึ่ง บี10ให้จันทรเลขาเล่าเรื่องปมในใจ พอนึกถึงเรื่องราวที่ถูกบังคับขู่เข็ญในซ่องจันทรเลขาตื่นตระหนก บี10 เข้าไปกอดปลอบประโลม จันทรเลขาตกใจลืมตัวทำร้ายบี10
แล้วในทีสุด บี10 ก็หายตัวไป เมื่อจันทรเลขารู้สึกตัวก็เสียใจในสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างตัวเธอกับบี10 เฝ้าโหยหาถึงแตบี10 ชะโงกมองหาจากเทวาลัยทุกครั้งที่มีขบวนผ่าน จันทรเลชาจมอยู่ในความโศกเศร้า จนวันหนึ่งได้เจอเด็กคนหนึ่งที่หากินตามถังขยะ ไม่มีพ่อไม่มีแม่เนื่องจากถูกทางการจับไป จันทรเลขาเฝ้าดูแลเด็กน้อยด้วยความรักและเป็นเครื่องปลอบประโลมใจ และกาโลเองก็ได้รับผลพวงนี้ด้วยที่ได้สานต่อฝัน
ถึงลูกชายที่หวังไว้ว่าจะมี "โอพิชิต"    เรื่องราวดำเนินมาให้มีการหมิ่นเหม่ต่อการถูกเปิดโปงสถานะที่แท้จริงแห่งวรรณะ แต่ก็ถูกแก้ไขด้วยโมติจันทร์ที่หวังจะได้จันทรเลขาเป็นเมีย ตอนแรกกาโลทำทุกอย่างเพื่อคงความเป็นพราหมณ์ไว้แม้ แต่จันทรเลขาจะต้องแต่งกับพราหมณ์ก็ตาม จันทรเลขาเองก็อยากลงจากหลังสือโดยการย่อมแต่งกับโมติจันทร์ แล้วจะเป็นอิสระเพื่อให้พ่อได้อยู่กับเทวาลัยต่อไป
วันที่มีการทำพิธี เลื่อนสถานะจันทรเลขาเป็นเจ้าแม่ตามความเชื่อโดยการสนับสนุนและเป็นตัวตั้งตัวตีของโมติจันทร์ กาโลเข้าใจความคิดของจันทรเลขา จึงตัดสินใจฆ่าเสือตัวที่ขี่อยู่ ด้วยการเปิดหน้ากากชองตัวเองแถลงถึงวรรณะที่แท้จริงและเสียดเย้ยหยามหยันพวกวรรณะชั้นสูงว่าถูกพลังทลายด้วยฝีมือ กาโล แห่งวรรณะศูทร วันนั้น บี10 ก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย  และเห็นด้วยกับชัยชนะที่กาโลตีตอบโต้วรรณะชั้นสูงแต่กาโลคิดในใจว่าเป็นชัยชนะของบี10 แล้วเดินออกจากวิหารไปพร้อมกับลูกสาว

คนขี่เสือเป็นวรรณกรรมเสียดเย้ย จริยธรรม มโนธรรม ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกมนุษย์แล้วทำลาย กลั่นแกล้งเอารัดเอาเปรียบกันอย่างน่ารังเกียจ  เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าอ่านทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น